Showing posts with label ภูมิแพ้. Show all posts
Showing posts with label ภูมิแพ้. Show all posts

Tuesday, July 1, 2014

สมมติฐานสุขภาพอนามัน กับโรคภูมิแพ้


ภูมิแพ้ในเด็ก
ภูมิแพ้

ทำไมเดียวนี้เด็กเป็นโรคภูมิแพ้กันมากขึ้น มาฟังคำตอบกันครับ

สมมติฐานสุขภาพอนามัน กับโรคภูมิแพ้

นักวิชาการหลายท่านแนะนำว่า หากเด็กเจ็บคอ เป็นหวัด เล็กๆ น้อยๆ อย่าให้ยาปฏิชีวนะพน่ำเพรื่อ การรักษาอนามัยในบ้านเป็นสิ่ง แต่ไม่ควรมีอนามัยมากจนเกินไป
ปี ค.ศ. 1989 นายแพทย์ D.P. Strachan จากกรุงลอนดอน ได้รายงานผลการวิจัยในวารสารการแพทย์ British Medical Joumal ว่า ขนาดจองครอบครัว มีความสัมพันธ์กับเด็กที่ป่วยเป็นโรคแพ้อากาศทางจมูกและตา พบว่าครอบครัวที่มีลูกหลายๆ คน เด็กป่วยเป็ฯโรคภูมิแพ้ทางจมูกและตาน้อยกว่าครอบครัวที่มีลูกคนเดียว โดยให้ข้อสันนิษฐานว่าบ้านที่มีลูกน้อย เด็กมักไม่ค่อยติดเชื้อโรคบ่อยเท่าบ้านที่มีลูกๆ หลายคน เขาเรียกข้อสังเกตนี้ว่า สมมติฐานสุขภาพอนามัย
ต่อมามีผู้อธิบายสมมติฐานนี้ว่า การที่เดผ้กติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด เช่น เป็นหวัดบ่อยๆ หรือบางคนมีพยาธิลำไส้หรือแบคทีเรียบางชนิด เช้น เป็นหวัดบ่อยๆ หรือบางคนมีพยาธิสำใส้เมื่อวัยเด็ก ร่างกายจะสร้าง เซลล์ป้องกันเรื่อโรค แต่ในขณะเดียวกันก็ลด การสร้างเซลล์ที่เอื้อต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ ทำให้ไม่ค่อยเป็นโรคภูมิแพ้
เด็กที่เกิดและเติบโตในท้องไร่ท้องนา มักเลี้ยงปศุสัตว์รอบที่อยู่อาศัย เช่น วัว ควาย หมู เป็ด และไก่ จะได้รับสารพิษจากมูลสัตว์ที่เรียกว่า Endotoxins ตั้งแต่เล็กๆ สารนี้จะไปกระตุ้นร่างกายให้สร้างเซลล์ป้องกันเชื้อโรคมากกว่าสร้างเซลล์อีกประเภททีเอื้อต่อการเกิดโรคภูมิแพ้
ตรงกันข้าม เด็กๆ ที่โตในสังคมเมือง พำนักในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดมากๆ รับประทานอาหารสะอาด ไม่ค่อยเป็นหวัดในวัยเด็กไม่เคยออกหัด หรือไม่เคบฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค ดื่มนมและน้ำสะอาดรับประทานยาแก้อักเสบเพื่อฆ่าเชื้อโรคบ่อยๆ โดยไม่จำเป็น ร่างกายเด็กเหล่านี้จะมี Th1 Cells น้อย แต่กลับมี Th2 Cells มาก ตัว Th2 Cells นี้ สร้างสารเคมีชื่อว่า Cytokines หลายตัวสารนี้คอยกระตุ้นให้ร่างกายสำแดงโรคภูมิแพ้ เช่น แพ้อากาศ ผื่นแพ้ คันผิวหนัง แพ้อาหาร แพ้สัตว์เลี้ยง บางครั้งรุ่นแรงจรเป็นโรคพืดหอบ
ปัจจุบันนี้นักวิชาการหลายท่านแนะนำว่า การรับเชื้อโรคเล็กๆ น้อยๆ จากสิ่งแวดล้อม ในวัยเด็ก เช่น เจ็บคอบ้าง เป็นหวัดบ้าง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ไม่รุนแรง หากไม่จำเป็นอย่าให้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ ควรฝึกให้เด็กเป็นคนติดดิน การรักษาอนามัยในบ้านเป็นสิ่งดีแต่ไม่ควรมีอนามัยมากจนเกินไป ให้เด็กๆ ได้วิ่งเล่นกันพี่น้อง หรือ เด็กเล็กกลางวันบ้าง ควรให้เด็กๆ ดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง คือ มัชณิมาปฏิปทา จะดีกว่า
นักวิจัยพบว่าบางประเทศที่ล้าหลังในทวีปแอฟริกา หลายๆ ปี ที่ผ่านมาได้พัฒนาจากสังคมชนบทมาสู่สังคมเมือง จากอยู่บ้านกระต๊อบดินหินในชนบท มาอยู่บ้านตึกในเมือง จำนวนผู้ป่ายโรคหืด(โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง) ทวีเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว จนห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลหลายแห่งรับรักษาผู้ป่ายหอบหืดรุนแรงไม่ไหว
ประเทศไทยก็เช่นกัน นับวันพัฒนาขึ้น ส่วนใหญ่จากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง คนไทยป่วยด้วยโรตติดเชื้อลดลง แต่กลับพบเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น ทั้งนี้น่าจะเป็นไปตามข้อสมมติฐานสุขอนามัยที่กว่าข้างต้น จึงเป็นไปได้ว่า "ประเทศยิ่งพัฒนา โรคภูมิแพ้ยิ่งเพิ่มขึ้น"