Wednesday, July 2, 2014

ก้าวสู่การเรียนรู้ยุคกูเกิ้ล


เด็กยุค google
เด็กยุค google

คำพูดที่ว่า "เด็กยุคนี้ทำรายงานผ่านกูเกิ้ล" มีความจริงอยู่มาก ปัญหาคือ พ่อแม่อาจคิดว่าเด็กค้นคว้าหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นเรื่องดี แต่หลายคนทำเพียง copy&paste แล้วนำส่งครูอาจารย์ กลับให้คะแนนดี ดังนั้นนอกจากวางใจให้ครูอาจารย์ดูแลลูกเรื่องการเรียนการสอน พ่อแม่ก็ต้องดูแลอีกทางที่บ้านโดยเฉพาะการบ้านของลูก


-- ใช้อินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์

อย่าคิดว่าเพียงแค่สะดวก ง่ายดาย การเสิร์ชหาข้อมูลใดๆ ควรแนะนำลูกว่าคือแหล่งข้อมูลที่เค้าต้องนำไปขยายต่อ ควรค้นคว้าข้อมูลให้มากที่สุดแล้วนำมาเรียบเรียง มิใช่การ copy&paste ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด เพราะข้อมูลนั้นๆ เองก็อาจไม่ถูกต้อง ควรต้องเทียบข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ด้วย และเลือกข้อมูฃที่ถูกต้องที่สุด นำมาเรียบเรียงใหม่ตามความเข้าใจของเขา ก่อนเขียนหรือพิมพ์ส่งอาจารย์


-- ตรวจทานการบ้านของลูก

เด็กวัยนี้ พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องคอยช่วยเขาทำการบ้านแล้ว ถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบของเขาเอง ซึ่งถ้าเขาไม่ทำส่งอาจารย์ตามเวลาที่กำหนด ย่อมต้องโดนลงโทษ แต่การช่วยลูกตรวจทานการบ้านถือว่าเป็นหน้าที่ของพ่อแม่นอกจรกดูว่าเค้าทำเสร็จครบถ้วนหรือไม่ ยังช่วยตรวจความผิด-ถูก และแนะนำเค้าได้ถ้ามีตรงไหนผิด แต่ถ้าลูกไม่อยากให้พ่อแม่ดูการบ้าน แสดงท่าทีไม่พอใจ ก็แสดงว่าเค้าอาจมีปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ซึ่งพ่อแม่ควรหาโอกาศพูดคุยกับครูอาจารย์


-- รู้เยอะเกินวัย ดีหรือไม่

ยุคอินเตอร์เน็ตมีอะไรให้เรียนรู้ค้นคว้ามากมายไปหมด แต่หลายเรื่องเป็นข้อมูลที่ผิด และหลายข้อมูลก็เป็นเสมือนดาบสองง่าม พร้อมทิ่มแทงทำร้ายลูก ถ้าเสพข้อมูลโดยไม่แยกแยะ การจำกัดแหล่งข้อมูลเรียนรู้ของลูกในอินเตอร์เน็ตทำได้โดยเทคหนิคต่างๆ เช่น การบล็อกเว็บบางประเภทแต่ต้องยอมรับว่ายุคนี้ความรู้ยิ่งกว่าจรวด แถมเด็กวัยนี้คลุกคลีกับอินเตอร์เน็ตมากว่าผู้ใหญ่อย่างเรา หลายเรื่องแม้ป้องกันดีแล้ว แต่ถ้าเค้าอยากรู้ เค้าก็ค้นหาจนเจอเองได้ พ่อแม่ต้องคอยดูแลให้ดี และพร้อมที่จะให้คำแนะนำลูกเสมอ ถ้าเห็นว่าข้อมูลนั้นเป็นภัยมากกว่าประโยชน์


-- เรียนรู้จากชีวิตจริง กิจกรรม และการศึกษา

ปัจจุบันคงยากแยกโลกอินเตอร์เน็ตออกจากโลกความเป็นจริงซึ่งพ่อแม่ก็ต้องพร้อมทำความเข้าใจและยอมรับที่นั่งจดจ่อหน้าคอมพิวเตอร์ คือ เค้าไม่รู้จะทำกิจกรรมอื่นใดที่น่าสนุกว่านี้ และพ่อแม่ส่วนใหญ่ก็เลือกวิธีง่ายๆ ให้ลูกใช้เวลาอยู่กับอินเตอร์เน็ตคาเฟ่นอกบ้านเพื่อตัวเองจะได้มีเวลาทำงาน ทำธุระอื่นๆ ซึ่งหารู้ไม่ว่านั่นคือโทษถ้าคุณจะลองเข้าไปสำรวจดูว่าในนั้นเด็กๆ เค้าทำอะไร (เล่นเกมออนไลน์ ตะโกนยั่วยุกันข้ามโต๊ะ สุมหัวกัน สูบบุหรี่ และอาจลงเอยด้วยการทะเลาะวิวาทกันในกล่มหรือข้ามกลุ่ม) แต่โทษพ่อแม่ก็ไม่ได้ เพราะหลายครอบครัวต้องทำมาหากินเปิดร้าน ทำธุระ ดังนั้นแทนที่จะปล่อยให้ลูกมีอิสระออกไปเล่นเกม เล่นอินเตอร์เน็ตนอกบ้าน อาจให้เค้าช่วยทำงานหรือช่วยดูแลร้านแทน หรือช่วยเก็บกวาดบ้าน และมีรางวัลให้ตามความเหมาะสม และ ถ้ามีโอกาสชวนกันออกไปทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้าน เช่น เดินห้าง ซื้อของ ท่องเที่ยว เล่ยกีฬาด้วยกัน


อินเตอร์เน็ตมีทั้งประโยชน์และโทษ ต้องเปิดใจและพร้อมที่จะเรียนรู้ก้างทันลูก

Tuesday, July 1, 2014

สมมติฐานสุขภาพอนามัน กับโรคภูมิแพ้


ภูมิแพ้ในเด็ก
ภูมิแพ้

ทำไมเดียวนี้เด็กเป็นโรคภูมิแพ้กันมากขึ้น มาฟังคำตอบกันครับ

สมมติฐานสุขภาพอนามัน กับโรคภูมิแพ้

นักวิชาการหลายท่านแนะนำว่า หากเด็กเจ็บคอ เป็นหวัด เล็กๆ น้อยๆ อย่าให้ยาปฏิชีวนะพน่ำเพรื่อ การรักษาอนามัยในบ้านเป็นสิ่ง แต่ไม่ควรมีอนามัยมากจนเกินไป
ปี ค.ศ. 1989 นายแพทย์ D.P. Strachan จากกรุงลอนดอน ได้รายงานผลการวิจัยในวารสารการแพทย์ British Medical Joumal ว่า ขนาดจองครอบครัว มีความสัมพันธ์กับเด็กที่ป่วยเป็นโรคแพ้อากาศทางจมูกและตา พบว่าครอบครัวที่มีลูกหลายๆ คน เด็กป่วยเป็ฯโรคภูมิแพ้ทางจมูกและตาน้อยกว่าครอบครัวที่มีลูกคนเดียว โดยให้ข้อสันนิษฐานว่าบ้านที่มีลูกน้อย เด็กมักไม่ค่อยติดเชื้อโรคบ่อยเท่าบ้านที่มีลูกๆ หลายคน เขาเรียกข้อสังเกตนี้ว่า สมมติฐานสุขภาพอนามัย
ต่อมามีผู้อธิบายสมมติฐานนี้ว่า การที่เดผ้กติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด เช่น เป็นหวัดบ่อยๆ หรือบางคนมีพยาธิลำไส้หรือแบคทีเรียบางชนิด เช้น เป็นหวัดบ่อยๆ หรือบางคนมีพยาธิสำใส้เมื่อวัยเด็ก ร่างกายจะสร้าง เซลล์ป้องกันเรื่อโรค แต่ในขณะเดียวกันก็ลด การสร้างเซลล์ที่เอื้อต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ ทำให้ไม่ค่อยเป็นโรคภูมิแพ้
เด็กที่เกิดและเติบโตในท้องไร่ท้องนา มักเลี้ยงปศุสัตว์รอบที่อยู่อาศัย เช่น วัว ควาย หมู เป็ด และไก่ จะได้รับสารพิษจากมูลสัตว์ที่เรียกว่า Endotoxins ตั้งแต่เล็กๆ สารนี้จะไปกระตุ้นร่างกายให้สร้างเซลล์ป้องกันเชื้อโรคมากกว่าสร้างเซลล์อีกประเภททีเอื้อต่อการเกิดโรคภูมิแพ้
ตรงกันข้าม เด็กๆ ที่โตในสังคมเมือง พำนักในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดมากๆ รับประทานอาหารสะอาด ไม่ค่อยเป็นหวัดในวัยเด็กไม่เคยออกหัด หรือไม่เคบฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค ดื่มนมและน้ำสะอาดรับประทานยาแก้อักเสบเพื่อฆ่าเชื้อโรคบ่อยๆ โดยไม่จำเป็น ร่างกายเด็กเหล่านี้จะมี Th1 Cells น้อย แต่กลับมี Th2 Cells มาก ตัว Th2 Cells นี้ สร้างสารเคมีชื่อว่า Cytokines หลายตัวสารนี้คอยกระตุ้นให้ร่างกายสำแดงโรคภูมิแพ้ เช่น แพ้อากาศ ผื่นแพ้ คันผิวหนัง แพ้อาหาร แพ้สัตว์เลี้ยง บางครั้งรุ่นแรงจรเป็นโรคพืดหอบ
ปัจจุบันนี้นักวิชาการหลายท่านแนะนำว่า การรับเชื้อโรคเล็กๆ น้อยๆ จากสิ่งแวดล้อม ในวัยเด็ก เช่น เจ็บคอบ้าง เป็นหวัดบ้าง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ไม่รุนแรง หากไม่จำเป็นอย่าให้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ ควรฝึกให้เด็กเป็นคนติดดิน การรักษาอนามัยในบ้านเป็นสิ่งดีแต่ไม่ควรมีอนามัยมากจนเกินไป ให้เด็กๆ ได้วิ่งเล่นกันพี่น้อง หรือ เด็กเล็กกลางวันบ้าง ควรให้เด็กๆ ดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง คือ มัชณิมาปฏิปทา จะดีกว่า
นักวิจัยพบว่าบางประเทศที่ล้าหลังในทวีปแอฟริกา หลายๆ ปี ที่ผ่านมาได้พัฒนาจากสังคมชนบทมาสู่สังคมเมือง จากอยู่บ้านกระต๊อบดินหินในชนบท มาอยู่บ้านตึกในเมือง จำนวนผู้ป่ายโรคหืด(โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง) ทวีเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว จนห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลหลายแห่งรับรักษาผู้ป่ายหอบหืดรุนแรงไม่ไหว
ประเทศไทยก็เช่นกัน นับวันพัฒนาขึ้น ส่วนใหญ่จากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง คนไทยป่วยด้วยโรตติดเชื้อลดลง แต่กลับพบเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น ทั้งนี้น่าจะเป็นไปตามข้อสมมติฐานสุขอนามัยที่กว่าข้างต้น จึงเป็นไปได้ว่า "ประเทศยิ่งพัฒนา โรคภูมิแพ้ยิ่งเพิ่มขึ้น"