Thursday, June 26, 2014

ทำโทษอย่างไร ให้ได้ผล

การทำโทษ ให้ได้ผล

การทำโทษ ให้ได้ผล
การทำโทษ ให้ได้ผล

การทำโทษไม่ได้หมายถึงจะต้องทำด้วยวิธีลงไม้อย่างเดียวแต่คือการบวนการหนึ่งในการสอนเด็กให้เรียนรู้การควบคุมอารมณ์และความต้องการ รวมทั้งเข้าใจผลของการกระทำที่ไม่เหมาะสมของตัวเองอย่างมีที่มาที่ไปค่ะ

ทำไมต้องทำโทษ?

หากเรามีเป้าหมายเพื่อให้ลูกเกิดกระบวนการเรียนรู้ และนำไปสู่พฤษติกรรมที่เหมาะสม การทำโทษก็นับเป็นสิ่งจำเป็นค่ะเพียงแต่คุณแม่จะต้องใช้ความรักควบคู่กับการอบรมสั่งสอนในการทำโทษทุกครั้ง โดยเฉพาะในลูกวัย 3-6 ขวบ ที่มักยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง วิธีต่อไปนี้จะช่วยสร้างประสบการณืชีวิตให้ลูกรู้ผิดได้ค่ะ

1.สอนให้รู้ อธิบายให้เห็น

ในวัยนี้ลูกยังไม่สามารถเลือกทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกต้องได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรสร้างกรอบที่ชัดเจนให้เขาค่ะ เช่น หาลูกไม่ยอมกินข้าวเมื่อถึงเวลา หรือไม่ยอมกินเพราะไม่อยากกินผัก คุณแม่สามารถลงโทษลูกด้วยการบอกว่า "หนูำม่กินอาหารที่คุณแม่เตรียมไว้ให้ เพราะฉะนั้นมื้อนี้หนูก็จะไม่ได้กินอะไรเลยนะ"
ที่สำคัญการลงโทษวิธีนี้ คุณแม่จะต้องอธิบายเหตุผล ให้ลูกเห็นผลเสียของสิ่งที่เขาทำด้วย เช่น "เมื่อถึงเวลากินข้าวหนูก็ต้องกินให้ตรงเวลา เรพาคุณแม่ย่อมเตรียมอาหารที่ดีไว้ให้หนู อยู่แล้ว หากหนูหิวก็จะทำให้ปวดท้อง หนูอาจไม่สบายได้" หลังจากนั้นคุณแม่อาจมีข้อเสนอให้ลูกเพิ่มเติม เพื่อให้เขามีแรงจูงใจในการทำมากขึ้น เช่น "แต่ถ้าหนูยอมกินข้าวตรงเวลา หนูก็จะได้ เล่นเกม ได้ดูการ์ตูนเรื่องที่ชอบ หรือได้เล่นกับเพื่อน" เป็นต้น

เคล็ดลับทำโทษลูกอย่างได้ผล

หักค่าขนมเมื่อทำผิด

ช่วงนี้น้องร็อคเก็ตค่อนข้างเอาแต่ใจ เวลาที่เขาโมโห คุณแม่จะพยายามเบี่ยงเบนความสนใจ และหักค่าขนมพร้อมทั้งอธิบายและให้เหตุผลแทนการดุด้วยอารมณ์ค่ะ ซื่อการทำโทษเขาด้วยการหักค่าขนมช่วยฝึกให้ลูกเห็นคุณค่าของเงิน ของขนมที่กิน ไม่กินทิ้งกินขว้างด้วย นอกจากนี้คุณแม่กชี้ชวนให้ลู้ทำกิจกรรมด้วยกัน เช่น ปั่นจักรยาน หรือ ทำกิจกรรมที่เขาสนใจ ก็ช่วยให้ลูกมีอารมณ์ดี ไม่โมโหง่าย

ท่องคำศัพท์แทนการตี

วิธีการลงโทษของคุณแม่จะไม่เน้นการตี ถ้าน้องเนยทำความผิดในบ้านคุณแม่ก็จะทำโทษด้วยการท่องจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษครั้งละ 5 คำค่ะ แค่นี้น้องเนยก็เข็ดจนไม่อยากทำความผิดอีก จากที่เคยทำอะไรผิดระเบียบ หรือ ทำกิจวัตรประจำวันผิดเวลา เช่น ไม่ยอมอาบน้ำ เล่นแต่เกม เป็นต้น นอกจากจะจำคำศัพท์ได้ขึ้นใจแล้ว ลูกก็ค่อยๆเป็นเด็กตรงเวลา  แบ่งเวลาเล่นและเวลาเรียนได้ดีมากขึ้น

2.ไม่ใช้อารมณ์ตัดสินลูก

ไม่ว่าจะเป็นความผิดใดๆ คุณแม่จะต้องตัดสินด้วยเหตุผลและไม่ใช้อารมณ์กับลูกโดยเด็ดขาดนะคะ เช่น หากลูกเป็นคู่พี่น้องแล้วทะเลาะกัน แย่งของเล่นกัน คุณแม่ควรบอกเขาด้วยถ้อยคำดีๆ "ว่าหนูต้องเล่นกันดีๆ นะคะ ต้องรู้จักแบ่งปัน เรพาเราเป็นพี่น้องกัน" ต่อจากนั้นคุณแม่อาจตั้งกฎขึ้นมาสนับสนุนให้ลูกรู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นไม่ถูกต้องจริงๆ เช่น "ถ้าหนูนังทะเลาะกันอีก คุณแม่จะห้ามไม่ให้หนูเล่นกันอีกเด็ดขาด"
การห้ามไม่ให้เขาเล่นด้วยกัน ถือว่าเป็นการลงโทษโดยที่เราไม่ต้องไปตี หรือใช้อารมณ์กับลูกเลย ซึ่งลูกก็จะได้เรียนรู้ด้วยตัวเองว่าการเล่นคนเดียวไม่สนุกเท่ากับเล่นด้วยกัน เขาก็จะค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่คุณแม่ทำ และรู้จักเล่นกับคนอื่นอย่างเหมาะสมได้ในที่สุด

เคล็ดลับทำโทษลูกอย่างได้ผล

ใช้วิธี time out

ที่บ้านมีลูกสาว 2 คนค่ะ เวลาสองพี่น้องเขาเล่นกัน จะมีทะเลาะกันบ้าง หรือเล่นกันไม่เป็นเวลาบ้าง เช่น น้องเอิร์นเคยไม่เชื่อฟังคุณแม่ ส่งเสียงดังชวนน้องอัยย์เล่นในเวลานอน คุณแม่จะทำโทษน้องเอิร์นด้วยการให้ไปอยู่นอกห้อง แล้วก็ล็อกห้องไว้ไม่ให้เปิดเข้ามาได้ประมาณ 2-3 นาที พอลูกร้องไห้สำนึกผิดเขาก็จะเชื่อฟัง ยอมนอนโดยไม่ส่งเสียง หรือชวนกันเล่นอีกเลย ถ้าวันไหนลืมตัวทำอีกคุณแม่ก็จะบอกว่าคุณแม่จะใช้ time out นะ เขาก็หยุดและไม่อยากทำผิดอีกค่ะ

สอน+ทำ ได้ผลยิ่งกว่า

เป็นเรื่องปกติที่เด็กต้องมีการแย่งของเล่นกันบ้าง น้องเนสท์เล่เป็นพี่ชายค่ะ แต่บางทีก็หวงของไม่ยอมแบ่งให้น้องเล่น คุณแม่เลยใช้วิธีเตือนก่อน 1 ครั้ง ถ้าเตือนแล้วยังไม่ยอมฟัง คุณแม่ก็จะลงโทษด้วยการให้เก็บของเล่นทั้งหมด ไม่ให้เล่นต่อค่ะ แต่ถ้ายังรื้อมาเล่นอีก ก็จะใช้วิธีเช้ามุม เขาก็จะสงบลงแล้วจำที่เราสอนได้จนเดินมาบอกคุณแม่ว่าจะแบ่งให้น้องเล่น ไม่แย่งของน้องอีกค่ะ

Tuesday, June 24, 2014

ต้องทำอย่างไร เมื่อต้องฝากลูกไว้กับเนอร์สเซอรี่

เริ่มเดือนแรก ที่หนูต้องแยกจาก หม่ามี้
เริ่มเดือนแรก ที่หนูต้องแยกจาก หม่ามี้

เริ่มเดือนแรก ที่หนูต้องแยกจาก หม่ามี้

>>> ปั๊มนมเพื่อลูก

ถึงแม้งานในออฟฟิศจะหนัก แต่แม่ก็พร้อมสู้เสมอที่จะปั้มนมเก็บไว้ให้ลูกอย่างได้อายค่ะ ต่อให้ต้องทำงานนั่งโต๊ะ ไม่มีเวลาปลีกตัวมาแบปั๊มตามมุมหรือในห้องน้ำ ก็มีวิธีคือ ใช้ผ้าคลุมเพื่อปั๊มไป ทำงานไป เครื่องปั๊มแนะนำว่าควรเป็นแบบอัตโนมัติ (ถ้าเป็นแบบหัวแดงใช้มือปั๊ม จะเมื่อยมือมาก แต่เครื่องปั๊มไฟฟ้าก็มีราคาค่อนข่างสูง ต้องพิจารณาตามเหมาะสมค่ะ) ปั๊มใส่ขวดเทใส่ถุงเสร็จแล้วก็รีบนำเข้าตู้เย็น ถ้าที่ออฟฟิศไม่มีตู้เย็น ก็ต้องหาลังโฟมใส่ น้ำแข็งสำหรับแช่ เวลานำกลับก็ให้ใส่บรรจุใส่กล่องเก็บความเย็บโดยเฉพาะที่สำคัญ ควรปั๊มให้เป็นเวลานะคะ ไม่งั้นนมจะคัดเจ็บมากค่ะ ถ้าจำเป็นต้องปั๊มทิ้ง ก็ต้องทิ้งค่ะ และถ้าปั๊มจนมีเลือดก็ควรหยุด อย่าฝืนค่ะ

>>> ส่งต่อการดูแลให้ครบถ้วน

เมื่อต้องฝากพี่เลี้ยงหรือญาติผู้ใหญ่ช่วยดูแลลูก ควรเตรียมทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับลูกให้พร้อม เพื่อเค้าจะได้หยิบใช้สะดวก รวดเร็วพันเวลา ไม่ว่าจะเป็น การละลายนมที่แช่ต้องเลือกใช้ถุงไหนก่อน ละลายอย่างไร ต้องให้นมกี่ออนซ์ อุณหภูมิประมาณไหน ผ้าอ้อม ผ้าเช็ดตัว เสือผ้า ถุงเท้า จัดวางใส่ตู้ให้พร้อม รวมทั้งยาต่างๆ เช่น ยาทาก้น ยาทาแก้คัน แก้ผื่น สำหรับอาหารเสริมของลูก เช่น ข้าวบด โจ๊ก ถ้าเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า ต้องนำอุ่นทุกมื้อก่อนป้อนลูก ที่สำคัญ เบอร์ติดต่อคุณหมอ แผนกไหน จัดสมุดประวัติของลูกใส่กระเป๋าใบเล็กๆ ไว้ให้พร้อม เผื่อคนที่เราฝากเลี้ยงจะได้ถือติดทือไปได้ทันที หากเกิดกรณีฉุกเฉินใดๆ ขึ้นมา

>>> แม่ไม่อยู่ หนูติดเล่น

ไม่ต้องห่วงว่าลูกน้อยจะเหงา ร้องงอแงหาคุณแม่ ไม่ยอมเอาใคร วัยนี้เค้ายังไม่ติดใครเป็ฯพิเศษ พร้อมที่จะเล่นกับคุกคน แต่ต้องกำชับเรื่องการดูแลเค้าให้ดี ทั้งความสะอาดและความปลอดภัยยุคนี้เป็นยุคอินเตอร์เน็ต เครื่องมืออุปกรณ์สื่อสารช่วยได้เยอะ อาจติดกล้องมอนิเตอร์เซื่อมต่อเน็ตสำหรับดูเบบี๋ที่ออฟฟิศก็ได้หรือใช้กล้องมือถือทำหน้าที่ (ผ่านโปรแกลม เช่น Skype หรือ Facetime)

>>>มารับหนูเร็วๆ หน่อย

ข้อนี้คุณแม่ที่ฝากลูกไว้กับเนอร์สเซอรี่ทราบดีอยู่แล้วแต่ในความเป็นจริงก็น่าเห็นใจ แม่บางคนทำงานหนัก แถมออฟฟิศ สถานที่ตั้งอยู่ไกลบ้าน กลับมารับลูกก็เย็นย่ำค่ำมือดแล้ว ก็ต้องฝาก คุณสามีที่ (ควร) ต้องเป็นกำลังสำคัญช่วยมาดูรับลูกแทน หรือ อาจฝากญาติ คนรู้จักใหล้บ้าน ช่วยดูแลแทน แต่ลูกน้อยก็อยากให้คุณแม่กลับมาไว ดังนั้นต้องเร่งเคลียร์งานหน่อยค่ะ รู้สึกว่าหนักไปก็พัก มารับลูกเติมพลังใจให้เต็มเปี่ยมก่อน ค่อยว่ากันต่อก็ยังไม่สาย จริงไหมคะ

Monday, June 23, 2014

สอนลูก..ให้ดูแลน้อง

สอนลูก..ให้ดูแลน้อง
สอนลูก..ให้ดูแลน้อง


>>> ให้ลูกทำความรู้จักกับน้อง

หลายคนแนะนำให้มีลูกคนที่สอง รอลูกคนแรกโตพ้นวัน 2-3 ขวบ ก่อน หรือเข้าโรงเรียนก่อนจะดี เพราะถ้าวันไล่กันมาก เด็กจะเกิดความอิจฉา น้อยใจ และพาลเกลียดน้องไปด้วย แต่ที่จริง เมื่อลูกโตพอรับรู้สิ่งต่างๆ ได้ เค้าจะมีความอ่อนโยนต่อสิ่งต่างๆ และถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์ในวันที่ลูกคนแรกยังเล็ก ก็สามารถให้เค้าทำความรู้จักกับน้องได้ ผ่านการพูดคุย ลูบลำหน้าท้องคุณแม่ บอกเค้าจะตื่นเต้นเล็กๆ ที่ได้รู้ว่ามีอีกชีวิตกำลังมาเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัว และรอคอย อยากให้น้องออกมาไวๆ

>>> เมื่อโลกของหนูถูกแบ่ง

ในเด็กบางคนอาจรู้สึกหวงของ ไม่เข้าใจว่าทำไมเมื่อมีน้องแล้วเค้าต้องคอยแบ่งสิ่งต่างๆ ให้ตลอดทั้งที่เดิมเป็นของๆ เค้า ไม่ว่าจะเป็น ห้องนอน เตียงนอน ของเล่น เสื้อผ้า หลายครอบครัวที่กังวลปัญหานี้จะใช้วิธีแก้ปัญหาง่ายๆ คือ ซื้อของให้ทั้งคู่ (อาจชื้อเหมือนกัน หรือคล้ายกัน) เท่านี้ก็หมดปัญหา ยกเว้นถ้าคนไหนไม่ถูกใจชิ้นไหนแล้วแย่งกันอันนี้ก็ต้องเรียกมาคุยทั้งคู่และมีการตกลงที่เหมาะสม แต่หลายครอบครับเลือกวิธีโอนของจากพี่คนโตให้น้อง เพื่อประหยัดเงิน ดัวนั้นถ้ายกให้น้องแล้ว ก็อาจซื้อให้พี่คนโตใหม่ เค้าจะรู้สึกว่าเท่าเทียม ส่วนน้องยังเล็กก็ยังไม่รู้สึกอันใด ดีเสียอีกได้ของพี่มาใช้

>>> ผูกพ้นด้วยการทำอะไรร่วมกัน

เมื่อเด็กๆ ทำอะไรร่วมกันตลอด กันด้วยกัน เที่ยวด้วยกัน เล่นด้วยกัน ย่อมมีความผูกพันมากกว่าการแยกเลี้ยง เค้าอาจมีทะเลาะกันบ้างแต่ก็เป็นประสาเด็กๆ เพียงแค่คุณให้ความสำคัญกับทั้งคู่ อย่าให้คนใดรู้สึกว่าขาด และส่งเสริมให้เค้าทำกิจกรรมต่างๆ ระกว่างพี่น้อง เช่น พาเข้าครัว ให้คนโตช่วยล้างผัก คนเล็กก็ช่วยคนโตอีกที หรือให้คนโตปูที่นอน คนเล็กเรียงหมอน

>>> ปกป้องน้อง เพราะหนูเป็นพี่

จากที่คุณแม่เคยเป็นผู้พิทักษ์ ดูแลความปลอดภัยให้ลูกคนแรกเมื่อยังเล็ก พอเค้าโตมาเป็นพี่ ส่วนนี้เค้าจะดูแลแทนคุณแม่ได้มาก มอบหมายหน้าที่นี้ให้เขา (เฉพาะในบ้าน) เช่น เมื่อน้องคลานไปตรงบันได ให้พาไปที่อื่น ป้องกันการปีนตกลงมาหรือถ้าเห็นน้องจะหยิบจับสิ่งใดที่อาจแตกหัก เป็นอันตราย ให้รีบไปหยุดทันที อย่าพยายามให้เขารู้สึกว่าเป็นงาน แต่ให้รู้สึกว่าเป็นหน้าที่ของพี่ที่ต้องปกป้องน้อง

อย่างไรก็ดี หน้าที่นี้ถ้าลูกคนแรกอายุยังน้อย ก็อย่าวางใจทั้งหมด โดนเฉพาะนอกบ้าน ความรับผิดชอบในการดูแลน้องยังต้องอยู่ในของเขตที่พ่อแม่สามารถดูแลได้ในระยะสายตาเสมอดังตัวอย่างข่าวพี่กับน้องชวนกันไปเล่นน้ำ แล้วจมน้ำ ต้องดูแลให้ดี