Thursday, June 26, 2014

ทำโทษอย่างไร ให้ได้ผล

การทำโทษ ให้ได้ผล

การทำโทษ ให้ได้ผล
การทำโทษ ให้ได้ผล

การทำโทษไม่ได้หมายถึงจะต้องทำด้วยวิธีลงไม้อย่างเดียวแต่คือการบวนการหนึ่งในการสอนเด็กให้เรียนรู้การควบคุมอารมณ์และความต้องการ รวมทั้งเข้าใจผลของการกระทำที่ไม่เหมาะสมของตัวเองอย่างมีที่มาที่ไปค่ะ

ทำไมต้องทำโทษ?

หากเรามีเป้าหมายเพื่อให้ลูกเกิดกระบวนการเรียนรู้ และนำไปสู่พฤษติกรรมที่เหมาะสม การทำโทษก็นับเป็นสิ่งจำเป็นค่ะเพียงแต่คุณแม่จะต้องใช้ความรักควบคู่กับการอบรมสั่งสอนในการทำโทษทุกครั้ง โดยเฉพาะในลูกวัย 3-6 ขวบ ที่มักยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง วิธีต่อไปนี้จะช่วยสร้างประสบการณืชีวิตให้ลูกรู้ผิดได้ค่ะ

1.สอนให้รู้ อธิบายให้เห็น

ในวัยนี้ลูกยังไม่สามารถเลือกทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกต้องได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรสร้างกรอบที่ชัดเจนให้เขาค่ะ เช่น หาลูกไม่ยอมกินข้าวเมื่อถึงเวลา หรือไม่ยอมกินเพราะไม่อยากกินผัก คุณแม่สามารถลงโทษลูกด้วยการบอกว่า "หนูำม่กินอาหารที่คุณแม่เตรียมไว้ให้ เพราะฉะนั้นมื้อนี้หนูก็จะไม่ได้กินอะไรเลยนะ"
ที่สำคัญการลงโทษวิธีนี้ คุณแม่จะต้องอธิบายเหตุผล ให้ลูกเห็นผลเสียของสิ่งที่เขาทำด้วย เช่น "เมื่อถึงเวลากินข้าวหนูก็ต้องกินให้ตรงเวลา เรพาคุณแม่ย่อมเตรียมอาหารที่ดีไว้ให้หนู อยู่แล้ว หากหนูหิวก็จะทำให้ปวดท้อง หนูอาจไม่สบายได้" หลังจากนั้นคุณแม่อาจมีข้อเสนอให้ลูกเพิ่มเติม เพื่อให้เขามีแรงจูงใจในการทำมากขึ้น เช่น "แต่ถ้าหนูยอมกินข้าวตรงเวลา หนูก็จะได้ เล่นเกม ได้ดูการ์ตูนเรื่องที่ชอบ หรือได้เล่นกับเพื่อน" เป็นต้น

เคล็ดลับทำโทษลูกอย่างได้ผล

หักค่าขนมเมื่อทำผิด

ช่วงนี้น้องร็อคเก็ตค่อนข้างเอาแต่ใจ เวลาที่เขาโมโห คุณแม่จะพยายามเบี่ยงเบนความสนใจ และหักค่าขนมพร้อมทั้งอธิบายและให้เหตุผลแทนการดุด้วยอารมณ์ค่ะ ซื่อการทำโทษเขาด้วยการหักค่าขนมช่วยฝึกให้ลูกเห็นคุณค่าของเงิน ของขนมที่กิน ไม่กินทิ้งกินขว้างด้วย นอกจากนี้คุณแม่กชี้ชวนให้ลู้ทำกิจกรรมด้วยกัน เช่น ปั่นจักรยาน หรือ ทำกิจกรรมที่เขาสนใจ ก็ช่วยให้ลูกมีอารมณ์ดี ไม่โมโหง่าย

ท่องคำศัพท์แทนการตี

วิธีการลงโทษของคุณแม่จะไม่เน้นการตี ถ้าน้องเนยทำความผิดในบ้านคุณแม่ก็จะทำโทษด้วยการท่องจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษครั้งละ 5 คำค่ะ แค่นี้น้องเนยก็เข็ดจนไม่อยากทำความผิดอีก จากที่เคยทำอะไรผิดระเบียบ หรือ ทำกิจวัตรประจำวันผิดเวลา เช่น ไม่ยอมอาบน้ำ เล่นแต่เกม เป็นต้น นอกจากจะจำคำศัพท์ได้ขึ้นใจแล้ว ลูกก็ค่อยๆเป็นเด็กตรงเวลา  แบ่งเวลาเล่นและเวลาเรียนได้ดีมากขึ้น

2.ไม่ใช้อารมณ์ตัดสินลูก

ไม่ว่าจะเป็นความผิดใดๆ คุณแม่จะต้องตัดสินด้วยเหตุผลและไม่ใช้อารมณ์กับลูกโดยเด็ดขาดนะคะ เช่น หากลูกเป็นคู่พี่น้องแล้วทะเลาะกัน แย่งของเล่นกัน คุณแม่ควรบอกเขาด้วยถ้อยคำดีๆ "ว่าหนูต้องเล่นกันดีๆ นะคะ ต้องรู้จักแบ่งปัน เรพาเราเป็นพี่น้องกัน" ต่อจากนั้นคุณแม่อาจตั้งกฎขึ้นมาสนับสนุนให้ลูกรู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นไม่ถูกต้องจริงๆ เช่น "ถ้าหนูนังทะเลาะกันอีก คุณแม่จะห้ามไม่ให้หนูเล่นกันอีกเด็ดขาด"
การห้ามไม่ให้เขาเล่นด้วยกัน ถือว่าเป็นการลงโทษโดยที่เราไม่ต้องไปตี หรือใช้อารมณ์กับลูกเลย ซึ่งลูกก็จะได้เรียนรู้ด้วยตัวเองว่าการเล่นคนเดียวไม่สนุกเท่ากับเล่นด้วยกัน เขาก็จะค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่คุณแม่ทำ และรู้จักเล่นกับคนอื่นอย่างเหมาะสมได้ในที่สุด

เคล็ดลับทำโทษลูกอย่างได้ผล

ใช้วิธี time out

ที่บ้านมีลูกสาว 2 คนค่ะ เวลาสองพี่น้องเขาเล่นกัน จะมีทะเลาะกันบ้าง หรือเล่นกันไม่เป็นเวลาบ้าง เช่น น้องเอิร์นเคยไม่เชื่อฟังคุณแม่ ส่งเสียงดังชวนน้องอัยย์เล่นในเวลานอน คุณแม่จะทำโทษน้องเอิร์นด้วยการให้ไปอยู่นอกห้อง แล้วก็ล็อกห้องไว้ไม่ให้เปิดเข้ามาได้ประมาณ 2-3 นาที พอลูกร้องไห้สำนึกผิดเขาก็จะเชื่อฟัง ยอมนอนโดยไม่ส่งเสียง หรือชวนกันเล่นอีกเลย ถ้าวันไหนลืมตัวทำอีกคุณแม่ก็จะบอกว่าคุณแม่จะใช้ time out นะ เขาก็หยุดและไม่อยากทำผิดอีกค่ะ

สอน+ทำ ได้ผลยิ่งกว่า

เป็นเรื่องปกติที่เด็กต้องมีการแย่งของเล่นกันบ้าง น้องเนสท์เล่เป็นพี่ชายค่ะ แต่บางทีก็หวงของไม่ยอมแบ่งให้น้องเล่น คุณแม่เลยใช้วิธีเตือนก่อน 1 ครั้ง ถ้าเตือนแล้วยังไม่ยอมฟัง คุณแม่ก็จะลงโทษด้วยการให้เก็บของเล่นทั้งหมด ไม่ให้เล่นต่อค่ะ แต่ถ้ายังรื้อมาเล่นอีก ก็จะใช้วิธีเช้ามุม เขาก็จะสงบลงแล้วจำที่เราสอนได้จนเดินมาบอกคุณแม่ว่าจะแบ่งให้น้องเล่น ไม่แย่งของน้องอีกค่ะ

No comments:

Post a Comment